พื้นที่หลังคา หรือดาดฟ้า ซึ่งเป็นที่ว่างเปล่า แต่ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการเป็นสถานที่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ หลังคา Solar Roof โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมามีบ้านเรือน หน่วยงาน บริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้ารูปแบบนี้จำนวนมากขึ้น ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน และในระยะยาวเมื่อคืนทุนค่าติดตั้งแล้ว ก็จะสามารถใช้ไฟฟ้าฟรีได้ไปอีกหลายปี ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 25 ปี แต่ความคุ้มค่าที่คาดหวังจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการดำเนินการในการติดตั้ง และป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากที่ได้มีการใช้งานไปแล้ว ซึ่งผู้ที่สนใจติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไว้ใช้งาน ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจไว้ล่วงหน้า
หนึ่งในปัญหากวนใจที่ทำให้ผู้ที่ติดตั้ง หลังคา Solar Roof ต้องเผชิญกับอาการปวดหัวได้ หากผ่านการติดตั้งโดยช่างที่ขาดความชำนาญหรือความระมัดระวัง มีช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการรั่วซึมระหว่างรอยต่อของกระเบื้องหลังคา ทำให้เมื่อเกิดฝนตกอย่างหัก อาจจะทำให้เกิดการรั่วซึม หรือรุนแรงถึงขั้นหลังคาถล่มลงมา หากโครงสร้างไม่สามารถรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ไหว การวางแผนประเมินโครงสร้าง และใช้วัสดุในการยึดเกาะและติดตั้งที่ได้มาตรฐาน จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการป้องกันปัญหานี้
สำหรับ หลังคา Solar Roof ที่มีการต่อแผงโซล่าเซลล์แบบอนุกรมกัน ก็อาจจะมีอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หากแผงโซล่าเซลล์แผงใดแผงหนึ่ง เกิดมีคราบสกปรกเกาะติด หรือมีเศษใบไม้มาบดบัง ทำให้กระแสไฟฟ้าเกิดการไหลเวียนผิดปกติ ทำให้แผงโซล่าเซลล์ซึ่งอยู่ใกล้เคียงต้องแบกรับกระแสไฟฟ้าไว้เป็นจำนวนมาก สะสมความร้อนสูง ซึ่งเมื่อนานเข้า ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดไฟลุกไหม้แผงโซล่าเซลล์ขึ้นได้ ซึ่งหากติดตั้งอยู่บนหลังคา ก็อาจจะเป็นการยากในการสังเกตเห็น หรือการดับไฟ จึงต้องอาศัยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
ในช่วงฤดูมรสม หรือมีฝนตกเป็นประจำทุกวัน ก็อาจจะเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดฟ้าผ่าลงมาที่แผงโซล่าเซลล์ซึ่งได้มีการติดตั้งในรูปแบบ หลังคา Solar Roof ได้ เนื่องจากบริเวณแผงโซล่าเซลล์มีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มข้น ซึ่งอาจจะมีผลทำให้แรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นชั่วขณะที่ทำให้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ โดยควรป้องกันด้วยการปลดวงจรชุดเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าหรือ Inverter และควรต่อสายดิน รวมไปถึงติดตั้ง Surge Protection Devices ซึ่งจะช่วยป้องกันการลัดวงจรได้
ในช่วงของการติดตั้งหากไม่วางแผนอย่างเป็นระบบ ก็อาจจะทำให้ในช่วงที่มีการใช้งานไปแล้ว ระบบผลิตไฟฟ้าแบบ หลังคา Solar Roof ก็อาจจะทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาการติดตั้งในทิศทางที่ไม่สอดคล้องต่อการผลิตไฟฟ้า อยู่ในทิศที่อับแสง แสงอาทิตย์ส่องไม่ทั่วถึง ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้เพียงในบางช่วงเวลา รวมไปถึงมีสิ่งบดบัง ทำให้แผงโซล่าเซลล์ทำงานได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ
แผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยปกติจะมีอายุเฉลี่ยในการใช้งานอยู่ที่ 25 – 30 ปี แต่ก็อาจจะเสื่อมสภาพก่อนได้ หากมีการเลือกซื้อแผงที่ผลิตมาโดยไม่มีคุณภาพ ไม่มีมาตรฐานด้านอุตสาหกรรมรับรอง และหลังจากการติดตั้งไปแล้วไม่ได้มีการดูแลบำรุงรักษา ทำความสะอาดคราบสกปรกที่เกาะติดบนผิวหน้าแผง รวมไปถึงตรวจสภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้าเป็นระบบ ทำให้บางส่วนอาจจะเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ทางที่ดีควรมีการเลือกซื้อวัสดุที่ได้มาตรฐาน และบำรุงรักษาเป็นระยะ
การติดตั้ง หลังคา Solar Roof เพื่อเป็นแหล่งในการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้งานนั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูงในระดับหนึ่ง ดังนั้นการติดตั้งและใช้งานต้องมีการดูแลเอาใจใส่ วางแผนอย่างเหมาะสม และบำรุงรักษา ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า โดยผู้ที่สนใจแต่ยังไม่มั่นใจในการลงทุน เพราะยังมีข้อสงสัยต่าง ๆ สามารถขอคำแนะนำจากบริษัทที่เชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation