การดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวัน จำเป็นต้องอาศัยไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานในการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่าง ๆ หากขาดพลังงานนี้ไป ก็จะทำให้ชีวิตเผชิญกับความยากลำบาก แม้เราต้องแบกภาระค่าไฟในแต่ละเดือนที่ค่อยขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จำเป็นต้องยอม แต่ปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งทางเลือก ที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการประหยัดค่าไฟ นั่นคือ การนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาปรับใช้ โดยการ ติด Solar Roof ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หลังคา หรือดาดฟ้าของบ้าน อาคารสำนักงาน โรงงาน หรือที่อื่น ๆ ซึ่งมีพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ และมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับระบบ เพื่อให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งรูปแบบการติดตั้งและยึดแผงโซล่าเซลล์กับโครงสร้างหลังคานั้นก็มีความสำคัญ ซึ่งก่อนที่จะติดตั้งไว้ใช้งาน ผู้สนใจ ควรเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ก่อน
สำหรับหลังคาบ้านยุคใหม่ที่เน้นโครงสร้างที่มีความทันสมัยสวยงาม มักจะมีการมุงด้วยหลังคาซีแพคโมเนีย ซึ่งผลิตขึ้นจากคอนกรีต มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักพอประมาณ จึงไม่ทำให้เกิดการปลิวหลุดลอย หากเกิดพายุ หรือลมแรงกระโชกจากโครงสร้างหลังคา นอกจากนั้นยังมีสีสันที่สวยงาม รูปทรงทันสมัย และไม่เป็นเชื้อรา โดยหากสถานที่ซึ่งมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ แล้วต้องการ ติด Solar Roof ผู้รับเหมาในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ จะมีอุปกรณ์เป็นเหล็ก มีลักษณะคล้ายตะขอ สอดเข้าไปใต้หลังคากระเบื้องซีแพคโมเนีย เพื่อไปเกี่ยวกับล็อคกับคานหลังคา หรือจันทัน ซึ่งจะไม่มีการเจาะกระเบื้องให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นรูรั่วแต่อย่างใด
สำหรับชนิดของกระเบื้องมุงหลังคาอีกประเภทที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ เมทัลชีท ซึ่งผลิตขึ้นจากแผ่นเหล็กที่ผสมระหว่างอลูมีเนียมและสังกะสี รีดเป็นลอนลักษณะเช่นเดียวกับกระเบื้อง ซึ่งข้อดีของวัสดุชนิดนี้ก็คือ สามารถสั่งผลิตให้มีขนาดตามความยาวของหลังคาได้เลย จึงไม่ทำให้เกิดรอยต่อ หรือรอยรั่วซึมเหมือนกันมุงด้วยกระเบื้อง นอกจากนั้นยังมีแบบเคลือบสีที่มีความสวยงาม และยังช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้านได้ดีอีกด้วย สำหรับการ ติด Solar Roof กับโครงสร้างหลังคาที่มุงด้วยเมทัลชีทนั้น จะใช้วิธีเปลี่ยนน๊อตที่ยึดตรงหลังคา แล้วติดตั้งขายึดที่มีลักษณะเหมือนตัว Z เข้าไปยึดกับโครงสร้างหลังคาเพื่อรองรับน้ำหนักแผงโซล่าเซลล์ ทำให้มีการยึดเกาะที่แน่นหนา และไม่ทำให้หลังได้รับความเสียหายด้วย
หากไปยังต่างจังหวัด ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างมาแต่ดั้งเดิม จะมีการใช้กระเบื้องลอนคู่เป็นวัสดุในการมุงหลังคาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นกระเบื้องที่ผลิตมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยจะเป็นหลังคาที่มีลอน 2 รางคู่กัน ด้วยท้องลอนที่กว้างและลึก จึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการทำให้น้ำฝนไหลลงสู่พื้นได้อย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะมุงหลังคาทรงปั้นหยา และหลังคาหน้าจั่ว สำหรับการ ติด Solar Roof กับโครงสร้างหลังคาที่มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ จะใช้วิธีเปลี่ยนน๊อตที่ยึดหลังคา แล้วติดตั้งขายึดที่มีลักษณะเหมือนตัว Z เช่นเดียวกับหลังคาเมทัลชีท
มาถึงการ ติด Solar Roof บนหลังคาอาคารประเภทสุดท้าย ซึ่งเป็นลักษณะพื้นปูนซีเมนต์ ที่เป็นที่โล่ง มีลักษณะเป็นดาดฟ้า ไม่มีวัสดุอื่น ๆ มาปกปิดผิว ซึ่งก็เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการนำมาใช้เป็นพื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อนำแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้งาน โดยการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในพื้นที่นี้จะใช้วิธีการเชื่อมโครงเหล็กขึ้นมา โดยมีความลาดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อให้ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ใช้น็อตยึดโครงสร้างเหล็กกับพื้นปูนซีเมนต์ให้มีความแน่นหนาและติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนโครงเหล็ก
จากข้อมูลที่นำมาบอกเล่าแนะนำกัน คงทำให้ผู้ที่สนใจ ติด Solar Roof มองเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ในแต่ละประเภทหลังคา หรือโครงสร้างอาคารจะมีการดำเนินการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร สำหรับผู้ที่มีความสงสัย ต้องการปรึกษาในการช่วยออกแบบและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่สำนักงาน โรงงาน หรือพื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น เราพร้อมยินดีให้คำปรึกษาและให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร โดยมีทีมวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์มากว่า 20 ปี โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @Solarpowercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation