จับตาอนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ พิชิตค่าไฟแพง กับ 3 เรื่องน่ารู้ โซล่าเซลล์ในไทย
ทิศทางของโซล่าเซลล์ในไทยเป็นอย่างไร หมอโซลาร์มีคำตอบมาให้ครับ

ไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในต้นทุนสำคัญที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน ด้วยต้นทุนพลังงานที่นำมาผลิตไฟฟ้านับวันจะยิ่งสูงขึ้นตามประมาณความต้องการหลังการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติปรับตัวทะยานไม่หยุด ซึ่งคาดว่าในอนาคตต้นทุนค่าไฟฟ้าจะมีราคาสูงขึ้นไปเรื่อยๆ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่สามารถนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยผ่านแผงโซล่าเซลล์ จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่าที่จะนำมาสยบปัญหาค่าไฟแพง โดยสถานการณ์โซล่าเซลล์ในไทย ทั้งในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นอย่างไร มาติดตาม เพื่อวางแผนเตรียมพร้อมรองรับเทรนด์และนโยบายใหม่ๆ กันได้เลย
1. นโยบายโซล่าเซลล์ในไทยสำหรับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐ
โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “โซล่าภาคประชาชน” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการนำ โซล่าเซลล์ในไทย มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของประชาชนทั่วไป และเปิดโอกาสให้สามารถนำไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้มาขายคืนแก่การไฟฟ้า แม้ว่าจะมีการปรับเงื่อนไขราคารับซื้อคืนเพิ่มขึ้นมาที่ราคา 2.20 บาท ต่อหน่วย จากเดิมในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย สำหรับในปี 2565 กระทรวงพลังงาน ได้เตรียมหารือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เพื่อพิจารณาปรับหลักเกณฑ์และทบทวนราคารับซื้อใหม่ที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพื่อจูงใจให้ประชาชนสมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้นกว่าในปี 2564 ที่ยังต่ำกว่าเป้าหมาย

2. ทิศทางการพัฒนาของโซล่าเซลล์ในไทยโดยบริษัทเอกชน
ในปี 2565 – 2566 ธุรกิจผลิตไฟฟ้าของภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามความต้องการใช้พลังงานเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลาย รวมถึงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐผ่านแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ โดยตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา การผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซล่าเซลล์ในไทย มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่างโซล่าฟาร์ม รวมไปถึง โซล่ารูฟทอป ซึ่งเป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ไว้บนหลังคาเพื่อผลิตไฟฟ้า โดยเป็นปัจจัยที่สืบเนื่องมาจากต้นทุนค่าแผงโซล่าเซลล์และค่าบริการในการติดตั้งที่มีราคาถูกลง ทำให้เป็นปัจจัยในการพิจารณาเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์กันมากยิ่งขึ้น

3. ข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่ต้องแนบเพื่อการพิจารณา
มีการวิเคราะห์จากภาคเอ็นจีโอที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างกรีนพีช ตั้งข้อสังเกตถึงการขับเคลื่อนการนำโซล่าเซลล์ในไทยมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าโดยเฉพาะกับภาคครัวเรือน โดยปัจจุบันพบว่าสัดส่วนการนำโซล่าเซลล์ในไทยมาใช้งานนั้น ยังมีเปอร์เซนต์น้อยกว่าต่างประเทศอยู่มาก โดยเฉพาะการพัฒนานโนบาย Net Metering ซึ่งเป็นนโยบายส่งเสริมการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ที่มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ลงทุนไม่เยอะ โดยการอนุญาตให้ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในช่วงกลางวันซึ่งมีแดดจัด และคนไม่อยู่บ้าน จึงมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้อย ให้สามารถไหลเข้าสู่สายส่งได้ และในตอนกลางคืนที่แผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ และคนในบ้านกลับเข้ามาสามารถดึงไฟฟ้าจากสายส่งเข้ามาใช้งาน และเมื่อสิ้นเดือนก็นำมาคำนวณยอดค่าไฟฟ้าตามที่ใช้จริงหักลบกับไฟฟ้าที่ไหลเข้าสู่สายส่ง การใช้นโยบายแบบนี้จะมีโอกาสทำให้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ไฟฟ้าในราคาต้นทุนต่ำ และรัฐยังไม่จำเป็นต้องขยายโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

อนาคต การใช้โซล่าเซลล์ในไทย ยังคงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม โดยเฉพาะนโยบายการส่งเสริมจากภาครัฐ ที่จะมีผลต่อการนำโซล่าเซลล์ในไทยมาใช้งานเพิ่มขึ้นทั้งในภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน สำหรับผู้ที่สนใจต้องการศึกษาข้อมูลไว้ล่วงหน้า ต้องการมีมืออาชีพมาให้คำปรึกษาโดยตรง สามารถขอคำแนะนำจากบริษัทที่เชี่ยวชาญอย่าง บริษัท โซลาร์ พาวเวอร์ ครีเอชั่น ที่มีทีมงานคุณภาพ มีประสบการณ์มากว่า 20 ปี ให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์แบบครบวงจร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 082 – 6282456 หรือแอดไลน์ @powercreation และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.powercreation.co.th และ Facebook : Solar Power Creation

