โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าให้เราใช้ได้อย่างไร ทำไมต้องใช้ตอนกลางวัน
พื้นฐานของพื้นฐาน ของการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์

ถ้าคุณกำลังมองหาการลงทุน ที่คุ้มค่าในเวลานี้โซลาร์เซล์คืออีกหนึ่งทางเลือกที่คุ้มค่า ทั้งช่วยคุณประหยัดเงินในกระเป๋าที่ต้องเอาไปจ่ายให้กับการไฟฟ้า และยังสามารถช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย
เพราะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ คือพลังงานฟรี ๆ ที่มีให้เราในทุก ๆ วัน ดังนั้นหากเราสามารถเปลี่ยนพลังงานเหล่านี้ให้เป็นไฟฟ้าที่สามารถใช้งานได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด พลังงานที่ไม่มีวันสิ้นสุดนี้ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับยุคนี้เลยครับ
แต่เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังมองไม่เห็นภาพว่า เราจะเอาแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไร วันนี้หมอโซลาร์ เลยขออาสา มาเล่าให้ฟังครับ
พลังงานแสงอาทิตย์ ต้นกำเนิดพลังงานสะอาดที่ไม่มีวันหมด
ด้วยเพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น นอกจากภูมิอากาศและอุณหภูมิโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 20 – 35 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์สูงอีกด้วย ซึ่งโดยเฉลี่ยต่อปี ในเขตประเทศไทยจะได้รับรังสีดวงอาทิตย์ประมาณ 5 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงและต่อตารางเมตร-วัน (kWh/m2-day) กระบวนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า โซลาร์เซลล์
โซลาร์เซลล์ เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระบวนการทำงานของโซลาร์เซลล์นั้นจะใช้รูปแบบของการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง
อุปกรณ์สำคัญ ในการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์
1. แผงโซลาร์เซลล์
2. อินเวอร์เตอร์
แผงโซลาร์เซลล์
โซลาร์เซลล์ ผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษในการเหนี่ยวนำและรับแสงอาทิตย์ แต่โซลาร์เซลล์เพียงเซลล์เดียว ยังไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้น จึงต้องนำโซลาร์เซลล์หลายๆ เซลล์มาประกอบเข้าด้วยกัน จนได้แผงโซลาร์เซลล์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีประสิทธิภาพและสามารถผลิตไฟฟ้าได้นั่นเอง โดยในปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์มีให้เลือกใช้งานด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่
1.ประเภทที่ผลิตจากผนึกซิลิคอน มี 2 ชนิด
2.1 ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากผนึกเดี่ยวซิลิคอน ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพสูงที่สุดในการผลิตไฟฟ้า สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงกว่าชนิดอื่นๆ ถึง 4 เท่า แม้อยู่ในภาวะแสงน้อยและมีพื้นที่ในการติดตั้งที่น้อยกว่า โดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 15-20% นอกจากนี้ ยังมีอายุในการใช้งานที่ยาวนานกว่า 25 ปี แต่มีราคาแพง
2.2 ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากผนึกหลายรูปซิลิคอน เป็นสารกึ่งตัวนำเช่นกัน แต่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เหมาะสมสำหรับการติดตั้งในบริเวณที่มีความร้อนและอุณหภูมิสูง โดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 13-16% มีอายุในการใช้งานประมาณ 20- 25 ปีและมีราคาถูกกว่าแผงโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์
2.ประเภทฟิล์มบาง เป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากสารอะมอฟัสและสารชนิดอื่นๆ ผสมกัน นำมาพ่นหรือฉาบเป็นแผ่นฟิล์ม มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์ประเภทผนึกซิลิคอน โดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 7-13% มีอายุในการใช้งานที่สั้นกว่า มีราคาถูก และไม่เหมาะสมในการนำมาใช้งานในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด
โดยในปัจจุบัน แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากผลึกซิลิคอนทั้ง 2 ชนิด คือชนิดโมโนคริสตัลไลน์และชนิดโพลีคริสตัลไลน์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าที่สูงมากขึ้นและมีราคาถูกลง ด้วยเหตุผลสำคัญนี้ ส่งผลให้แผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตจากผนึกซิลิคอนได้รับความนิยมมากที่สุดตามไปด้วยนั่นเอง
อินเวอร์เตอร์
เพราะไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งยังไม่สามารถนำมาใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้ ดังนั้นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญ ที่ต้องมีในระบบคืออินเวอร์เตอร์ ที่จะทำหน้าที่แปลงจากไฟฟ้ากระแสตรง ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งอินเวอร์เตอร์นี้ ถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ ที่จะกำหนดมาตรฐานของไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์กันเลยทีเดียว
ก่อนหน้านี้ การผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ หรือโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) เป็นเรื่องไกลตัวมาก เนื่องจากราคาแพง และการติดตั้งก็ยุ่งยาก ต้นทุนสูง รวมถึงการขออนุญาตดำเนินการ ก็ดูเป็นเรื่องที่ทำกันได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น
แต่ปัจจุบันต้นทุนของระบบนี้ ลงมาถึงจุดที่ใครก็สามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าบนหลังคาของตัวเองได้แล้ว และที่สำคัญ มีโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ที่ส่งเสริมให้บ้านพักอาศัย ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ด้วยตัวเอง ส่วนที่เหลือก็สามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ด้วย ซึ่งโครงการนี้เป็นอย่างไร ตอนหน้าหมอโซลาร์จะมาอธิบายให้ฟังกันอย่างละเอียดเลยนะครับ
ผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ ไว้ใจโซลาร์ เพาเวอร์ ครีเอชั่น
ในส่วนของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเภทที่ 1 และไม่ใช่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ที่อยากติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop)
เพื่อลดค่าใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันนั้น สามารถทำได้เช่นกัน เพียงเลือกผู้ให้บริการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน อย่างทีมงาน Solar Power Creation ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับธุรกิจไฟฟ้ามาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ที่พร้อมให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหา Solution ที่ดีที่สุดในการติดตั้ง การประสานงานภาครัฐ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูง ด้วยทีมงานวิศวกร Power Creation มืออาชีพและการให้บริการหลังการขายที่จะทำให้คุณประทับใจ ดังนั้น เมื่อคิดจะติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ อย่าลืมนึกถึงทีมงานหมอโซล่า Solar Power Creation นะครับ

